วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชและสัตว์

การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชและสัตว์
การตอบสนองต่อสิ่งเร้า หมายถึง การกระทำต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ช่วยให้สิ่งมีชีวิต ดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างสิ่งเร้า ได้แก่ การสัมผัส แสง เสียง อุณหภูมิ ความชื้น ฯลฯ ทั้งพืชและสัตว์ มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า การตอบสนองต่อสิ่งเร้าช่วยให้มีชีวิตอยู่รอดได้ การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช


พืชที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นแสง ได้แก่ การเปลี่ยนสีของดอกพุดตาน การบานรับแสงของดอกแพรเซี่ยงไฮ้ คุณนายตื่นสาย ใบจามจุรี(หรือต้นก้ามปู) การหันเข้ารับแสงของ ดอกทานตะวัน
การเจริญของลำต้นหรือกิ่งก้านขึ้นสู่อากาศเพื่อรับแสง การเจริญของรากลงสู่พื้นดินเพื่อดูดน้ำและแร่ธาตุ
การหุบใบของต้นไมยราบเมื่อถูกสัมผัส
มีพืชอีกหลายชนิดที่มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าในลักษณะต่าง ๆ เช่น
ในกลุ่มพืชกินแมลง ได้แก่หม้อข้าวหม้อแกงลิง หยาดน้ำค้าง กาบหอยแครง และสาหร่ายข้าวเหนียว ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากการสัมผัส โดยมีใบที่พัฒนาเป็นเครื่องมือจับแมลง ใบของหยาดน้ำค้างมีขนขึ้นเต็ม ตรงริมใบจะยาวมากเป็นพิเศษ ปลายขนมีของเหลวเหนียวๆ เกาะคล้ายหยาดน้ำค้าง เมื่อแมลงโดนสารเหลวนี้ มันจะติดอยู่ตรงนั้น แล้วขนตรงริมใบจะพับหุ้มตัวแมลง กดลงไปตรงกลางใบ และปล่อยน้ำย่อยโปรตีนออกมาย่อยสลายตัวแมลง สำหรับในหม้อข้าวหม้อแกงลิง ก็มีวิธีคล้ายๆกัน โดยปลายใบจะยืดยาวเป็นหนวดออกไป และตรงปลายหนวดจะพัฒนาเป็นอวัยวะที่มีลักษณะเป็นหม้อ ภายในมีน้ำหวานใช้ล่อแมลงให้ตกลงมา นอกจากนี้ยังมีฝาปิดเพื่อป้องกันไม่ให้แมลงบินหนีไป หลังจากที่แมลงตกลงไปแล้ว ก็จะไปกระตุ้นให้เกิดการการสร้างน้ำย่อยออกมาย่อยสลายตัวแมลง และดูดซึมแร่ธาตุไปใช้
การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์
ตัวอย่างสัตว์ที่ตอบสนองต่อการสัมผัส ได้แก่ แมว สุนัข กิ้งกือ ตัวอ่อนของแมลงในระยะที่เห็นตัวหนอน
สัตว์ที่ตอบสนองต่อแสง เช่น ไส้เดือนดิน แมลงสาบ ค้างคาวจะหนีแสง หรือม่านตาของแมวจะหรี่ลงเมื่อมีแสงจ้า
มนุษย์สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชและสัตว์ไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ในด้านการเพาะปลูก หรือการเลี้ยงสัตว์ โดยการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น